Saturday, April 12, 2014


(ก) การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานการณ์ได้
(ข) ภาษาอังกฤษ จะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากร และนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
(ค) ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
(ง) สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/ บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
(จ) โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
(ฉ) เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจัง และนำมาปรับใช้ ห้องเรียน ไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิม และเก่งจริงๆ
ช) บริษัทข้ามชาติ จะเป็นตัวเร่งในการเคลื่ยนย้ายแรงงาน เนื่องจากต้องตอบสนองความต้องการของตัวเองและมีข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องคูณ ภาพของแรงงานและความสามารถเฉพาะทางที่ต้องการ (วิศวกรต่างชาติจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และเขมร มีแนวโน้มจะย้ายมายังไทย?)
5. การเตรียมพร้อมของวิศวกรไทย: ในบทนี้ ผู้เขียนขอเสนอ แนวทางการแก้ไข ผลกระทบของประชาคมอาเซียน 2558 ต่อวิศวกรไทย ไว้เป็นดังนี้:
ภาษาอังกฤษ: ภาษาอังกฤษของวิศวกรไทยต้องไม่เพียงแค่อ่านออก เขียนได้ แต่ยังต้องสามารถสนทนาโต้ตอบได้อย่างดี และถูกต้องกับคนทุกชาติที่มีภาษาแม่ต่างกัน
มาตรฐานของวิศวกรไทย: สภาวิศวกรไทยต้องจัดทำมาตรฐานวิศวกรให้ครอบคลุมทุกสาขาเทคโนโลยี วิศวกรทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยรวมทั้งวิศวกรไทยต้องขึ้นทะเบียนกับ สภาวิศวกร และสภาวิศวกรต้องจัดการ/ควบคุมวิศวกรให้มีคุณภาพ และจริยธรรมตามมาตรฐาน(ผมเข้าใจว่า ณ ตอนนี้บริษัทต่างๆรับพนักงานโดยดูจาก ปริญญาเพียงอย่างเดียวว่าจบวิศวกรหรือไม่ ยกเว้นเฉพาะบางตำแหน่งที่ต้องการ กว. เช่นพวกควบคุม ออกแบบ เท่านั้น น่าจะไม่ถึงหนึ่งในสามด้วยซ้ำ สภาวิศวกรยังไปไม่ถึงขั้นที่ควบคุมการทำงานของวิศวกรไทยได้ทั้งหมดโดยเฉพาะ ในสาขาไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ที่มีความหลากหลายของสายงาน)
ความร่วมมือสังคมวิศวกร: สถาบันศึกษา สมาคม/ องค์กรวิชาชีพวิศวกรรม ต้องร่วมมือกัน ผลิต บ่มเพาะ ขัดเกลา เพิ่มความรู้ความชำนาญ ให้วิศวกรไทยเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพ และจริยธรรมที่ดี ตลอดเวลาที่อยู่ในวิชาชีพวิศกรรรม
ค่าแรงขั้นต่ำ: รัฐบาลจะต้องปรับให้ค่าแรงขั้นต่ำมีอัตราเท่ากันทั้งประเทศ เพื่อ ให้จูงใจให้วิศวกร และแรงงานอื่นๆทำงานในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองให้มากขึ้น ลดการย้ายเข้าไปทำงานตามเมืองใหญ่หรือกรุงเทพฯ และลดการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ หากวิศวกร และแรงงานภาคอื่นๆมีงานที่ดีทำในถิ่นฐานบ้านเกิดจะเท่ากับเป็นการพัฒนาชนบท ให้เจริญทัดเทียมกันทั้งประเทศ เป็นหนทางหนึ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพ รัฐและท้องถิ่นต้องมีความชัดเจนกับการ ใช้พิ้นที่อุตสาหกรรม เกษตร ที่อยู่อาศัยหรือท่องเที่ยว (มากกว่าแค่กำหนดZone ส่งเสริมการลงทุนคลุมเป็นภาคหรือจังหวัดอย่างที่เป็นอยู่ ตอนนี้เราจูงใจวิศวกรหรือพนักงานวิชาชีพอื่นไปทำงานต่างจังหวัดโดยมีการจ่าย ค่าเช่าบ้านหรือเบื้ยเลี้ยงเพิ่มสำหรับคนนอกพื้นที่ แต่ไม่ค่อยได้มองคนในพื้นที่เท่าไหร่นัก)